ช่วยเเชร์ จ้า .....

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 108 ณ อาคารศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ร่วมกับ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดลำปาง รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัดลำปาง ประจำปี 2563 สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายภายใต้แผนบูรณาการแม่บท มีการจัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลและสั่งการ (War Room) ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล สั่งการในรูปแบบ Single Command ตามวิสัยทัศน์ “คนลำปางสุขภาพดี เมื่อไม่มีหมอกควัน” ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายด้านสุขภาพ อัตราการเจ็บป่วยสาเหตุจากหมอกควันและจุดความร้อนลดลง ขณะที่จำนวนวัน ที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินค่าเป้าหมายเล็กน้อย สถานการณ์ดีขึ้นได้ด้วยความร่วมมือและความเข้มแข็งของทุกภาคส่วนในพื้นที่
สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมา มีผลการดำเนินการตามค่าเป้าหมาย ดังนี้


1) ประชาชนมีสุขภาพดี.ลดอันตรายจากการเจ็บป่วยสาเหตุจากหมอกควัน ลดลงร้อยละ 70 โดยมีอัตราผู้ป่วยที่เฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ จากภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดลำปาง จำนวนผู้ป่วย 24,761 คน ลดลงจากปี 2562 จำนวน 82,580 คน คิดเป็นร้อยละ 70.02 จากเป้าหมายร้อยละ 70
2) จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลงร้อยละ 50 โดยผลการดำเนินงานในห้วงห้ามเผาเด็ดขาด (1 มีนาคม – 30 เมษายายน 2563) มีจุดความร้อนลดลงจากปีที่ผ่านมา 875 จุด ลดลงเหลือ 313 จุด ลดลง คิดเป็นร้อยละ 64.2
3) จำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ลดลงร้อยละ 50 โดยผลการดำเนินการในห้วงห้ามเผาเด็ดขาด (1 มีนาคม – 30 เมษายายน 2563) มีวันที่ค่าคุณภาพอากาศเกินมาตรฐานลดลงจากปีที่ผ่านมา 48 วัน ลดลงเหลือ 40 วัน คิดเป็นร้อยละ 16.66 ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดลดลงร้อยละ 50 แต่จากข้อมูลพบว่าจำนวนวันที่ค่าเกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) และค่า PM2.5 สูงสุดปี 2563 มีจำนวนที่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ได้จัดเตรียมมาตรการความพร้อมไว้ในทุกๆ ด้าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ห้วงเวลา ดังนี้.-
1. มาตรการป้องกันเตรียมการก่อนเกิดสถานการณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ได้มีคำสั่งจัดตั้ง
ศูนย์รวบรวมข้อมูลและสั่งการ (War Room) ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล จัดทำประกาศจังหวัดลำปาง เรื่องงดเว้นการเผาโดยเด็ดขาด (1 มีนาคม – 30 เมษายน 2563) ให้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินการสำรวจข้อมูลเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลในการปฏิบัติงาน มีข้อสั่งการให้ทุกอำเภอสำรวจขึ้นทะเบียนผู้มีอาชีพหาของป่า จัดเตรียมแผนการทำแนวกันไฟในพื้นที่ชุมชนพื้นที่ป่า ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนผ่านทุกช่องทาง โดยเฉพาะ อสม. เพื่อให้ประชาชนทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพ
2. มาตรการรับมือ ห้วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2563 ให้ศูนย์ War Room ทุกแห่ง ดำเนินการ
ตามแผนปฏิบัติการของจังหวัดอย่างเข้มงวดตามสายบังคับบัญชา (Single Command) ให้หน่วยงานทุกหน่วยดำเนินการตามมาตรการอย่างเข้มงวด
2.1 กรณีค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เกินมาตรฐาน ระหว่าง 51-75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ให้มีการลาดตระเวนดับไฟ ป้องกันเหตุลุกลาม และให้หน่วยงานที่มีรถบรรทุกน้ำทำการฉีดพ่นละอองน้ำ
สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ชุมชน ให้มีการตรวจวัดค่าควันดำ ติดตามตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม
ไม่ให้ก่อสภาวะฝุ่นควัน
2.2 กรณีค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เกินมาตรฐาน ระหว่าง 76-100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยใช้อำนาจทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคุมพื้นที่ แหล่งกำเนิดและกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้จุดไฟเผาป่า/บุกรุกป่า
2.3 กรณีค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เกินมาตรฐาน มากกว่า 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ให้มีการจัดสถานที่รองรับ (Clean Room) ให้สามารถรองรับประชาชนผู้ประสบภัยในทุกพื้นที่ สนับสนุนการแจกหน้ากากอนามัยแก่ประชาชน ร่วมกันประสานงานบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ เช่น การทำฝนเทียมในช่วงวิกฤติ ขอรับการสนับสนุนการลาดตระเวนดับไฟทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ จัดตั้งด่านตรวจจุดสกัด ลาดตระเวนในพื้นที่จุดเสี่ยง พื้นที่ป่า บ่อขยะ เป็นต้น
3. มาตรการฟื้นฟู ห้วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2563 ได้มีแผนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ที่ถูกไฟไหม้ ทั้งยังส่งเสริมการปลูกพืชแบบพึ่งพาและการปลูกไม้ยืนต้นควบคู่กับพืชเกษตรในรูปแบบวนเกษตร การสร้างป่าเปียก Food Bank และผลักดันให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการ CSR ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากความสำเร็จดังกล่าวนั้น มาจากปัจจัยในด้านต่างๆ ได้แก่


1) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดลำปาง มีโครงสร้างการบัญชาการตามลำดับขั้น และมีการแบ่งส่วนงานและหน้าที่อย่างชัดเจน ระบบสั่งการในรูปแบบ Single Command ระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน
2) มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในแต่ละพื้นที่ ในการปฏิบัติการเฝ้าระวัง ลาดตระเวน และดับไฟ
3) มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
4) ภาคเอกชน ภาคประชาชน จิตอาสา ที่มีทักษะ ความชำนาญ เข้าร่วมปฏิบัติการดับไฟป่ากับส่วนราชการ
5) มีการประสานงานและสนธิกำลังจากหลายหน่วยงานในการปฏิบัติงาน
6) มีหน่วยงานรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง และประสานการปฏิบัติโดยตรง ทำให้ระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว
7) การจัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วระดับหมู่บ้านในการเฝ้าระวังสถานการณ์ไฟป่า
8) ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการป้องกันไฟป่าหมอกควัน
9) การจัดให้มีพื้นที่ป่าชุมชนเพิ่มขึ้น จังหวัดลำปางมีป่าชุมชนถึง 421 หมู่บ้าน 748,750 ไร่
ซึ่งจากการดำเนินการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันดีเด่นต้นแบบของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ประจำปี 2563 ที่ผ่านมา จึงได้สรุป เป็นแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2564 ดังนี้.-
วิสัยทัศน์ “คนลำปางสุขภาพดี เมื่อไม่มีหมอกควัน”กรอบแนวคิด 1) Single Command สั่งการและควบคุมการเผา
1.1 จัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลและสั่งการ (War Room) ระดับจังหวัด ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
1.2 จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง
1.3 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และศูนย์รวบรวมข้อมูลและสั่งการ (War Room)           ระดับอำเภอ จำนวน 13 อำเภอ
1.4 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และศูนย์รวบรวมข้อมูลละสั่งการ (War Room)
ระดับตำบล
2) บูรณาการทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมีการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน ชุมชน
3) ป้องกันก่อนเกิดเหตุ/ระดมสรรพกำลังเพื่อเฝ้าระวังมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานตัวต่อนายอำเภอที่
หน่วยงานตั้งอยู่เพื่อให้นายอำเภอ (ผู้บัญชาการระดับอำเภอ) บัญชาการสั่งการในการป้องกัน เฝ้าระวัง และระงับเหตุได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

790 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ