เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม ท. 209 อาคารทีปวิช มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ดร . อุษนีย์ เส็งพานิช อธิการบดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นประธานเปิดโครงการ เสวนาศิลปวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งโครงการดังกล่าวสาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิชาเอกการประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับรู้และเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมด้านศิลปวัฒนธรรมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มประชาคมอาเซียน การจัดเสวนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย คณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 200 คน
ด้านดร . อุษนีย์ เส็งพานิช อธิการบดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกล่าว่าสำหรับคำว่าอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ปรากฏในคําประกาศปฏิญญาอาเซียนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ประเทศในภูมิภาคธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความ เจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของ ความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก และการศึกษาถูกกําหนดให้เป็นกลไก หลักในการนําอาเซียนก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคม มีศักยภาพในการแข่งขันและ อํานาจในการต่อรองเจรจากับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งประชาคมยุโรป มีกลไกการ ขับเคลื่อนประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนในมิติด้านการศึกษาได้ กําหนดเป้าหมายเพื่อก้าวสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยให้ความสําคัญต่อความ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค ในประเด็นการเสริมสร้าง โอกาสด้านการศึกษาให้แก่ ประชาชนอย่างเท่าเทียม การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาคทุกระดับ ตลอดจนการ ส่งเสริมความร่วมมือด้านเครือข่ายเยาวชน ตลอดจนการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน