ช่วยเเชร์ จ้า .....

 

นางอาทิตยา  สนประเทศ  นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ  รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหายางพาราตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางผ่านโครงการต่างๆ ทั้งด้านการส่งเสริมการทำเกษตรเกษตรผสมผสานและการส่งเสริมให้หน่วยงานราชการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศมากขึ้น จากสถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรยังคงเผชิญปัญหาเรื่องของตลาดและความผันผวนของราคายางตกต่ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ โดยสนับสนุนการขับเคลื่อนกลไกตลาดรับซื้อยางพาราผ่านสถาบันเกษตรกร การส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรรวมกลุ่มดำเนินการรวบรวมรับซื้อผลผลิตยางพารา เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองราคาช่วยบรรเทาปัญหาราคายางพาราตกต่ำในเบื้องต้น

นางอาทิตยา  สนประเทศ  กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 176,951 ไร่ ซึ่งขณะนี้ มีเกษตรกรแจ้งใช้สิทธิ์ขึ้นทะเบียน 4,704 รายมีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร10 แห่งเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เป็นจุดรับซื้อยาง ประกอบด้วย 1.สหกรณ์การเกษตรยางพาราพิษณุโลก จำกัด  2.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านห้วยตีนตั่ง 3.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.ชมพูพัฒนา 55 4.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านแยง 5.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.อ.ชาติตระการ 6.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านใหม่ชัยมงคล 7.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านต่อเรือ 8.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.สี่แยกอินโดจีน 9.กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย. น้ำริน 10.กลุ่มชาวสวนยางสกย.บ้านไผ่ใหญ่ ถือเป็นจุดรวบรวมรับซื้อที่มีศักยภาพต่อการให้บริการแก่เกษตรกรและส่งมอบยางพาราตามโครงการดังกล่าว  โดยมีแผนการรวบรวมรับซื้อยางพารา 2 รอบ คือ กุมภาพันธ์ 2559 และมิถุนายน 2559 ซึ่งจะได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับทราบต่อไป

ด้าน นางกัญญาภัค  จันทรสุข  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4  กล่าวว่า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ได้นำหลักการสหกรณ์มาขับเคลื่อนกลไกตลาดรับซื้อยางพาราในพื้นที่ โดยแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรใช้วิธีบริหารจัดการกลุ่มรวมกันซื้อ รวมกันขายในธุรกิจรวบรวมผลผลิตยางพาราตามวิธีการดังนี้ 1. ให้คณะกรรมการนัดประชุมสมาชิกทุกๆ 15 วัน เพื่อรวบรวมผลผลิตยางทั้งหมดจากสมาชิกจากนั้นจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผลผลิตยางพาราและตลาดรับซื้อ2. เปิดโอกาสให้พ่อค้าเสนอราคาประมูล ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางและเป็นราคาที่เกษตรกรสมาชิกพึงพอใจ 3. การส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรสมาชิกผลิตน้ำยางที่ดีมีคุณภาพออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสมาชิกขายผลผลิตง่ายได้ราคาดีเป็นวิธีการรวมกลุ่มแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำลดขั้นตอน ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรสมาชิกช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเป็นหลักการบริหารจัดการธุรกิจที่ดีบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิกและชุมชนต่อไป

 

2547 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ