ช่วยเเชร์ จ้า .....


            นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่าจากข้อมูลการเสียชีวิตของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเทศไทยมีการตกน้ำจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆในทุกสาเหตุของโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อซึ่งการเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำของเด็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง 2548 โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 1,500 คน
สำหรับจังหวัดพิษณุโลกถูกจัดเป็นเขตพื้นที่เสี่ยงมากในการเกิดเหตุเด็กจมน้ำ จากข้อมูลรายงานการจมน้ำเสียชีวิตของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลกพบว่าใน ปี พ.ศ. 2556 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในจังหวัดพิษณุโลก 20 คน ปี พ.ศ. 2557 เสียชีวิต 11 คน ปี พ.ศ. 2558 เสียชีวิต 12 คน ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดรองลงมาคือเดือนตุลาคมซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมของเด็กเช่นเดียวกันส่วนใหญ่ในปี 2558 เด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงคือเป็นเด็กผู้ชาย 11 คนเด็กผู้หญิง 1 คนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 6-10 ปี
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การช่วยเหลือคนจมน้ำ คือ”ตะโกน โยน ยื่น ” ได้แก่ 1.ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นๆ มาช่วยแล้วโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669 ประการที่ 2.โยน คือ โยนอุปกรณ์ที่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัวเช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกหรือวัสดุที่ลอยน้ำได้โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น 3. ยื่น คือ ยื่น อุปกรณ์ ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับไว้เช่นไม้ เสื้อผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับแล้วดึงขึ้นมาจากน้ำโดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยและที่สำคัญยังมีประชาชนเข้าใจผิดว่าเมื่อช่วยเด็กขึ้นมาจากน้ำสิ่งแรกที่ทำคือการอุ้มพาดบ่าและกระแทกเอาน้ำออกในกรณีนี้ขอแนะนำว่าเมื่อช่วยเหลือคนจมน้ำขึ้นจากน้ำได้แล้วห้ามจับ คนจมน้ำ อุ้มพาดบ่าและกระโดดวิ่งไปมาเพื่อให้น้ำออกเนื่องจากน้ำที่ออกมาจะ เป็นน้ำจากกระเพาะไม่ใช่จากปอด ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจ นานยิ่งขึ้นและเสียชีวิตได้ สำหรับ วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องคือ 1. ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือ 2. วางคนที่จมน้ำนอนราบตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก 3. ช่วยให้หายใจได้เร็วที่สุดโดยวิธีการผายปอดและเป่าลมเข้าทางปากติดต่อกันหลายๆครั้ง 4.ถ้าหัวใจหยุดเต้นให้นวดหัวใจ โดยใช้การกดที่บริเวณกลางหน้าอกให้ยกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอกความเร็ว 100 ครั้งต่อ 5 นาที 5.รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านหรือโทรแจ้ง 1669 โดยเร็วที่สุดและวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กอย่าปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำกันเองตามลำพังเด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่มือเอื้อมถึงในความถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกล่าวในที่สุด
หากมีข้อสงสังสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและโรคไม่ติดต่อ 055 – 252052 ต่อ657

 

14264 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ