ช่วยเเชร์ จ้า .....

 

นายแพทย์ปิยะ  ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ 1 มกราคม -15  มีนาคม  2559  ว่าอยู่ในอันดับที่  21  ของประเทศ  มีรายงานพบผู้ป่วยในทุกอำเภอ  จำนวน  167  ราย  สัดส่วนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก  จำแนกตามกลุ่มอายุ  อันดับที่  1  คือ กลุ่มอายุ  15-24  ปี  สัดส่วนร้อยละ  27.14  อันดับที่  2  กลุ่มอายุ  10 -14  ปี  สัดส่วนร้อยละ  19.29  และอันดับที่  3  กลุ่มอายุ  25 -34  สัดส่วนร้อยละ  14.29  ตามลำดับ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว  (SRRT)  เร่งรัดรณรงค์กำจัดยุงลายตัวแก่  และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ประเมินความหนาแน่นของลูกน้ำยุงลาย  เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคในวงกว้าง  รวมถึงการติดตาม กำกับงานในพื้นที่  ที่เกิดการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเร่งรัดแก้ปัญหาให้ทันท่วงที  อย่างไรก็ตามประชาชนต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดกินเลือดแล้ว  มักจะไปเกาะพักตามมุมอับชื้นในบ้าน  เช่น  ห้องน้ำ  มุมห้องนอนที่มีเสื้อผ้าใส่แล้วแขวนอยู่  เป็นต้น  หากจะกำจัดยุงลายตัวแก่ต้องฉีดสเปรย์  หรือใช้ไม้ไฟฟ้าช็อตยัง  รวมถึงต้องป้องกันตนเองและคนครอบครัวโดยการไม่ให้ยุงกัดและไม่ให้ยุงเกิด  ด้วย  5  ป  1ข  วิธีง่าย  ๆ  ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย  ดังนี้  ป  ที่หนึ่ง  ปิดภาชนะใส่น้ำกินใช้ให้มิดชิด  หลังการตักน้ำมาใช้ทุกครั้ง  ป  ที่สอง  เปลี่ยนน้ำในแจกันถังเก็บน้ำทุก  7  วัน  ป  ที่สาม  ปล่อยปลากินลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่ใส่น้ำถาวร  ป  ที่สี่  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  ให้ปลอดโปร่ง  โล่ง  สะอาด  ลมพัดผ่าน  ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย  ป  ที่ห้า  ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย  และ  1  ข  คือ  ขัดไข่ยุงลาย  บริเวณขอบภาชนะ  โดยใช้ใยขัด  หรือแปรงขัดชนิดนุ่ม  แล้วเทน้ำขัดล้างลงบนพื้นดิน  ปล่อยให้ไข่แห้งตาย

ทั้งนี้  หากมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก  ต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายปิดล้อมกำจัดยุงลายตัวที่มีเชื้ออย่างเข้มข้น  เพื่อไม่ให้ไปกัดและแพร่เชื้อให้คนอื่นด้วย  ผู้ป่วยเองก็ต้องป้องกันไม่ให้โรคไปติดต่อคนรอบข้างคนอื่น  ๆ  ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง  ทั้งขณะอยู่พักฟื้นที่บ้านหรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่  สำหรับอาการเฉพาะโรคไข้เลือดออกคือ  ไข้สูง  ปวดเมื่อย  หน้าตาแดง  อาจมีเลือดกำเดา  มีจุดแดงใต้ผิวหนังหลังป่วยในวันที่  2-3  อาการเริ่มต้นโดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด  แต่ไข้จะสูงอย่างกะทันหัน  และกินยาลดไข้เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาไข้ได้อีก  หากพบอาการไม่ดีขึ้นให้รีบเข้ารักษาพยาบาลสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนทันที

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก055 – 252052 ต่อ 452

 

14295 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ