วันที่ 28 ตุลาคม 2559 เวลา 08.00 น. พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ มทภ.3 เป็นประธานกองทัพภาคที่ 3 พิธีส่งทหารซึ่งรับราชการครบกำหนด และปลดจากกองประจำการรุ่นปี 2557 ผลัดที่ 2 รุ่นปี 2558 ผลัดที่ 2 และรุ่นปี 2559 ผลัดที่ 1 ของหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3 ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งประกอบด้วย กองบัญชาการกองทัพน้อยที่ 3 , กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 4,กองบัญชาการกองพลพัฒนาที่3,กองบัญชาการช่วยรบที่ 3,มณฑลทหารบกที่ 39,กองพันทหารสื่อสารที่ 23 ,โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ในการเป็นทหารกองประจำการของทหารทุกนาย จะได้รับการดูแลจากกองทัพเป็นอย่างดีทำให้ได้ซึ่งระเบียบ วินัย และความรับผิดชอบ สามารถนำไปปฎิบัติหลังการปลดจากกองประจำการเพื่อไปดูแลชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเอง ทหารกองประจำการทุกรุ่นก่อนปลดประจำการทางกองทัพจะจัดอบรมวิชาชีพตามที่ถนัดให้กับทุกนาย โดยส่งอบรมที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเขต 9 เพื่อนำไปเป็นอาชีพต่อไป และอาชีพที่ต้องการทหารประจำการมากที่สุดคือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
สำหรับธงชัยเฉลิมพล ถือได้ว่าเป็นยอดสำคัญสำหรับทหารทั้งปวง เป็นหมายแห่งชัยชนะรวมใจกล้าหาญก่อนการออกศึก ซึ่งธงชัยเฉลิมพลนั้น เดิมเรียกว่า “ธงประจำทัพ” ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทหารทุกนายเพราะถือว่าเป็นตัวแทน จอมทัพ และเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ณ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จำเป็นที่ทหารทั้งหลายจะต้องติดตามธงนั้นจนถึงที่สุด และต้องคุ้มครองป้องกันธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยชีวิตตนเอง เพราะถ้าธงตกถึงเงื้อมมือศัตรูย่อมหมายถึงการสูญสิ้น ซึ่งจอม-จตุรงค์ ธงชัยเฉลิมพลจะมีลักษณะคล้ายธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นผู้ทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง ดังนั้น การเชิญธงชัยเฉลิมพลออกจากหน่วยและเข้าร่วมพิธีการใดก็ตามจะต้องกระทำอย่างสมเกียรติมีขั้นตอนที่สมบูรณ์ที่สุด และผู้ถือธงจะต้องได้รับการเลือกสรรอย่างดี หากเปรียบในสมัยโบราณผู้ที่จะต้องนำธงชัยเฉลิมพล ออกร่วมทำการรบพลประจำธงจะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรง มีความสามารถ และต้องรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ได้ด้วยชีวิต
พรหมพร คงเนตร สำนักข่าวที่นี่เมืองสองแควรายงาน
สำหรับธงชัยเฉลิมพล ถือได้ว่าเป็นยอดสำคัญสำหรับทหารทั้งปวง เป็นหมายแห่งชัยชนะรวมใจกล้าหาญก่อนการออกศึก ซึ่งธงชัยเฉลิมพลนั้น เดิมเรียกว่า “ธงประจำทัพ” ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทหารทุกนายเพราะถือว่าเป็นตัวแทน จอมทัพ และเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ณ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จำเป็นที่ทหารทั้งหลายจะต้องติดตามธงนั้นจนถึงที่สุด และต้องคุ้มครองป้องกันธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยชีวิตตนเอง เพราะถ้าธงตกถึงเงื้อมมือศัตรูย่อมหมายถึงการสูญสิ้น ซึ่งจอม-จตุรงค์ ธงชัยเฉลิมพลจะมีลักษณะคล้ายธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นผู้ทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง ดังนั้น การเชิญธงชัยเฉลิมพลออกจากหน่วยและเข้าร่วมพิธีการใดก็ตามจะต้องกระทำอย่างสมเกียรติมีขั้นตอนที่สมบูรณ์ที่สุด และผู้ถือธงจะต้องได้รับการเลือกสรรอย่างดี หากเปรียบในสมัยโบราณผู้ที่จะต้องนำธงชัยเฉลิมพล ออกร่วมทำการรบพลประจำธงจะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรง มีความสามารถ และต้องรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ได้ด้วยชีวิต
พรหมพร คงเนตร สำนักข่าวที่นี่เมืองสองแควรายงาน
6102 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้