ช่วยเเชร์ จ้า .....

พิษณุโลก รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำและเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากกลุ่มน้ำยม
วันที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 11.00 น บ้านแม่ระหันหมู่ 10 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำและเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากกลุ่มน้ำยม โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและชาวตำบลบ้านกร่างให้การต้อนรับ


จังหวัดพิษณุโลกประกอบด้วย 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน มีประชากรรวมประมาณ 860, 000 คน มีพื้นที่ประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร (6.80ล้านไร่) พื้นที่ตอนล่างเป็นราบลุ่มค้าอย่างกระทะทำให้ราษฎรได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
สำหรับโครงการบางระกำโมเดลปี 2561 เป็นนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อข่าวลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 โดยการเลื่อนเวลาการเพาะปลูกข้าวฤดูปีในพื้นที่ลุ่มต่ำเร็วขึ้น เพื่อไม่ให้พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเป็นพื้นที่รองรับน้ำเป็นพื้นที่ทุ่งหน่วงน้ำ

เพื่อชะลอการระบายน้ำไม่ให้กระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นการบูรณาการร่วมกันจากหลายภาคส่วนราชการกับประชาชนในพื้นที่ในการทำงานแบบประชารัฐเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตชลประทานซึ่งขยายผลจากความสำเร็จในปี 2560 จากเดิม 265,000 ไร่ ต่อยอดในปี 2561 จำนวน 117,000ไร่ รวมเป็น 382,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ใน 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอเมือง อำเภอวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย รวมเป็น 28 ตำบล 130 หมู่บ้านจำนวนเกษตรกร 8,668 ราย ผลความก้าวหน้าการเพาะปลูกได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ให้ความร่วมมืออย่างดีโดยทำการทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตในภาพรวมโครงการ 374,524 ไร่ ความคิดเป็นร้อยละ 98 อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวร้อยละ 2 โดยคาดว่าจะเสร็จก่อนวันที่ 31 สิงหาคม 2561 มีความพร้อมที่จะเป็นพื้นที่รองรับปริมาณน้ำหลากเกิดสถานการณ์น้ำวิกฤตของลุ่มน้ำยมตามวัตถุประสงค์โครงการพิษณุโมเดลต่อไป
ภาพ/ข่าว นายวัฒนพร อัครชินพรรณ รายงาน

1250 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ