ช่วยเเชร์ จ้า .....

 

เช้าวันนี้ ( 1 ก.ย.58 ) ที่ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวร อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกนายบรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลกพร้อมด้วยนายประพนธ์  คำไทยผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวร ร่วมกันแถลงผลการส่งน้ำในฤดูการเพาะปลูกปี 2558
    นายบรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลกกล่าวว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปี ในปี 2558 ที่ผ่านมา จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานทั้งหมด 95,750ไร่ในพื้นที่ 2 อำเภอคืออำเภอพรหมพิรามและอำเภอวัดโบสถ์ ซึ่งในเขตความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว มักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ จะเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม หรือบางปีหากมีการเลื่อนการเพาะปลูก ก็อาจจะเก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก จากสภาวะน้ำท่วมขัง กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการปรับระยะเวลาการทำนาปีในพื้นที่ดังกล่าว ให้เร็วขึ้นอีก 1 เดือน ตามความต้องการของเกษตรกรส่วนใหญ่ จากเดิมที่จะเริ่มทำการเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนเมษายน เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยในเดือนกรกฎาคม ก่อนเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก ที่มักจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มส่งน้ำมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นมา โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร ได้รับการจัดสรรน้ำทั้งสิ้นประมาณ 94 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 95,750 ไร่ ส่วนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ได้รับการจัดสรรน้ำจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 264 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 290,694ไร่ แต่จากการคาดการณ์สภาพฝนตั้งแต่ในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ พบว่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อย ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งผลน้ำต้นทุนในปีนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยไม่เพียงพอสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ทำนาปรังที่ใช้น้ำจำนวนมาก ทั้งนี้ ในขณะที่ยังต้องระบายน้ำจากเขื่อน เพื่อส่งน้ำมาเสริมน้ำฝนให้กับพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนทั้งสี่เขื่อน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา
             ด้านนายประพนธ์  คำไทยผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวร กล่าว่าจากการที่กรมชลประทาน ได้ประเมินสภาพน้ำต้นทุนจากสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และข้อมูลคาดการณ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 คาดว่าจะมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสี่เขื่อน มีปริมาณน้อย ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์จะทำให้ไม่สามารถส่งน้ำให้กับเกษตรกรได้ต้องงดการส่งน้ำอีก 1 ปี หลังจากเมื่อปีที่แล้วงดการส่งน้ำมาแล้ว 1 ปี ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว จะต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 เพื่อใช้สำหรับการอุปโภค-บริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ ดังนั้น เพื่อให้การใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการป้องกันการขาดแคลนน้ำทั้งในฤดูแล้งปี 2558/2559 ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนปี 2559 ต่อไป


5187 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้

By Aui

error: สวัสดีค่ะ