[youtube video=https://youtu.be/2AnUA7RYbS4 autohide=”2″ color=”red” controls=”1″ iv_load_policy=”1″ theme=”dark” quality=”default” button_layout=”default” button_theme=”default” button_subscriber_count=”default”]
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 นายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก ได้เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำของอำเภอบางระกำในปัจจุบัน 142 หมู่บ้าน น้ำอุปโภคบริโภคยังมีกินมีใช้ไม่เข้าสู่วิกฤต ยังรับมือได้ แบ่งเป็นสองส่วน และส่วนของแม่น้ำยมนั้นเป็นปกติซึ่งจะแห้งอยู่แล้ว เพราะเราไม่มีประตูเป็นเครื่องมือในการจัดการบริหารจัดการน้ำ เพราะลุ่มน้ำยมนั้นเราไม่มีเขื่อน แยกเป็นสองส่วน ฝั่งซ้ายคือ บางระกำโมเดล ไม่มีแผนการบริหารจัดการน้ำ หรือส่งน้ำมาให้ในช่วงนาปรังอยู่แล้วเกษตรกรรับทราบดี ยกเว้นเกษตรกรที่ทำนาต่อเนื่องมีบ่อบาดาลเป็นของตนเอง ส่วนที่สองอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศบางระกำฝั่งขวาจะทำนาโดยรับน้ำธรรมชาติจากน้ำฝน ส่วนปัญหาวิกฤตน้ำอุปโภคบริโภค 142 หมู่บ้าน ยังไม่วิกฤต ยังสามารถใช้ประปาหมู่บ้าน ใช้น้ำใต้ผิวดิน และกองทุนหมู่บ้านก็มีการทำในเรื่องของน้ำดื่มอยู่ คือแบ่งออกเป็นนอกเขตชลประทาน กับเขตชลประทาน นอกเขตชลประทานอยู่ฝั่งขวา มีแก้มลิงธรรมชาติอยู่ 3 แก้มลิง ในเขตชลประทานอยู่ฝั่งซ้าย คือบางระกำโมเดล
นายอำเภอบางระกำ กล่าวว่า สำหรับบางระกำโมเดลนั้น เป็นการวางแผนการเพราะปลูกและเก็บเกี่ยวก่อนเวลา เพื่อหนีฤดูน้ำหลาก และในส่วนของแม่น้ำยมนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะแห้งเพราะไม่มีน้ำมาเติม ไม่มีเขื่อนสำรับกักเก็บน้ำเกษตรกรรับทราบดี พี่น้องกำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็รายงานมาตลอด เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าการแก้ไขในเรื่องของการเกษตรในช่วงนี้นั้น นายอำเภอบางระกำกล่าวว่า พี่น้องเกษตรกรรับทราบและรับสภาพปกติไม่ทำนาปรังต่อเนื่องในส่วนของบางระกำโมเดลยกเว้นบางรายเท่านั้นที่ยังฝ่าฝืน สามารถช่วยตัวเองได้คือน้ำบาดาลซึ่งก็มีจำนวนน้อย เนื่องจากเกษตรกรงดทำนาปรังจึงไม่มีผลกระทบ จึงไม่ได้รายงานเขตประกาศเขตให้การช่วยเหลือ
สำหรับบางระกำโมเดลนั้นไม่มีน้ำกักเก็บ หลังจากระบายน้ำออกไปหมดแล้ว เพราะบางระกำโมเดลนั้นเราจะทำนาเร็วกว่าเดิม เพื่อจะเก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จต้นเดือนสิงหาคม และรับน้ำหลากเข้ามาเป็นแก้มลิงธรรมชาติ ประมาณเดือนธันวาคมน้ำจะแห้งเป็นปกติอยู่แล้ว ในส่วนของบึงตะเคร็งหรือบึงระมาณ ซึ่งชุมชนไม่ได้ทำเกษตรยกเว้นเกษตรที่เพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพราะยังไม่เข้าสู่ฤดูการทำนา ในฝั่งของบึงตะเคร็งจะมีน้ำ แต่จะนำไปปลูกข้าวไม่ได้ ซึ่งกฎข้อบังคับส่วนรวมไว้ เพื่อรักษาความสมดุลของบึงเอาไว้