วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และคณะ พร้อมด้วยนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า นายสุชาติ เศรษฐยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพิษณุโลก ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการเติมน้ำใต้ดิน อ.บางระกำ และท่อระบายน้ำคลองแยงมุม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ตามมาตรการของ กองอำนวยการน้ำแห่ฃชาติ กอนช.รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตามมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ กอนช.
โครงการเติมน้ำใต้ดิน องค์การบริหารส่วนตำบลหองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ พร้อมคณะฯ ได้ชมการสาธิตการขุดเจาะบ่อเติมน้ำใต้ดินแบบวงบ่อคอนกรีต พร้อมเยี่ยมชมผลผลิตทางการเกษตรการจากน้ำบาดดารและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ภายหลังการเยี่ยมชมพร้อมรับฟังบรรยายสรุป รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแก่ผู้น้ำท้องถิ่น และประชาชนที่มาให้การต้อนรับ โดยกล่าว ขอให้ท้องถิ่นน้อมนำศาสตร์พระราชา “ทฤษฎีแก้มลิง” มาใช้ขยายพื้นที่ทำบ่อเติมน้ำใต้ดินเพื่อช่วยประชาชนในพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในอนาคต โดย ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบภัยแล้งในหลายพื้นที่รัฐบาลจึงได้เร่งวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้แก้ได้ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมไปพร้อมกัน ด้วยการคิดค้นหาวิธีกักเก็บน้ำฝนให้ได้มากที่สุดในฤดูฝน โดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เร่งรัดทำโครงการเติมน้ำใต้ดินให้ครอบคุลมทั่วประเทศที่ใช้รูปแบบและวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ หลักการเติมน้ำใต้ดิน เป็นการนำน้ำที่เหลือใช้ช่วงน้ำท่วมหลากหรือจากน้ำฝนที่ตกลงมาเติมลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ช่วงเวลาที่ต้องการ ถือเป็นการช่วยธรรมชาติฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล แก้ปัญหาการลดระดับลงของชั้นน้ำบาดาลให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ช่วยระบายน้ำ และลดภาวะน้ำท่วมขัง
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เดินทางไปยังท่อระบายน้ำคลองแยงมุม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุป โครงการบางระกำโมเดล เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำของแม่น้ำยม ดำเนินการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก และใช้พื้นที่เป็นแก้มลิงชั่วคราว ตัดยอดน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นทีเมืองสุโขทัย และพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พร้อมสามารถทำการประมงในช่วงฤดูน้ำหลาก เกิดรายได้ ลดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น สำหรับในปี 2563 มีพื้นที่เป้าหมาย 265,000 ไร่ รองรับน้ำหลาก 400 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปี 2562 จำนวน 117,000 ไร่ เนื่องจากข้อจำกัดของปริมาณน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลัก ซึ่งผลการเพาะปลูกฤดูนาปี 2563 เต็มพื้นที่เป้าหมาย และตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2563 เกษตรกรได้เริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว
1467 เยี่ยมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 เยี่ยมชมวันนี้